|
|
|
 |
ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านมีตำนานเล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีพวกเงี้ยวนำโดย พกาหม่อง ได้ยกทัพมาจากทางเหนือจะมาตีเมืองแพร่ เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณที่จุดนี้ได้หยุดพักทับ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “แม่ยั้งฮ่อ” (เป็นภาษาคำเมือง) แปลว่า ที่ที่ฮ่อหยุดพัก ต่อมาชาวบ้านได้เรียกเพี้ยนไป จีงกลายเป็นแม่ยางฮ่อที่ตั้งของตำบลแม่ยางตาลในปัจจุบัน เดิมที่เป็นที่ตั้งของตำบลแม่ยางฮ่อในอดีตโดยมี กำนันหลวง วงศ์วรพันธ์ เป็นกำนันท่านแรกของตำบล แม่ยางฮ่อ กำนันโต ถุงเงิน |
|
|
|
ได้เป็นกำนันท่านต่อมาซึ่งท่านเป็นคนบ้านแม่ยางเบี้ยว ดังนั้น ที่ทำการของตำบลแม่ยางฮ่อ จึงย้ายที่ทำการไปอยู่ที่บ้านแม่ยางเบี้ยวในสมัยกำนันท่านนี้ ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2523 กำนันเปล่ง วิชัยปะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนัน ซึ่งท่านมีบ้านอยู่ที่บ้านแม่ยางตาล จึงได้แยกตำบลออกจากตำบลแม่ยางฮ่อมาเป็นตำบลใหม่ โดยแรกเริ่มเดิมทีชื่อ ตำบลแม่ยางต้นตาล เพราะมีต้นตาลขึ้นในวัด 1 ต้น ต่อมาชาวบ้านได้เรียกเพี้ยนไปเหลือเพียง ตำบลแม่ยางตาล |
|
|
|
|
 |
|
|
อาคารที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่ยางตาล อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ทำการปกครองอำเภอร้องกวาง ประมาณ 10 กิโลเมตร
พื้นที่ในเขตดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล มีเนื้อที่ประมาณ 10,213 ไร่ หรือประมาณ 16.34 ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลประจำปี 2539 ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 30 มกราคม 2539
โดยมีผลใช้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 21 มีนาคม 2539) ทำให้สภาตำบล (นิติบุคคล) ได้ประกาศขึ้นเป็น “องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางตาล”
ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ตามมาตรา 40 และ มาตรา 41 |
|
|
|
|
|
|
|

 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 1,648 ครัวเรือน |
|

 |
จำนวนประชากรทั้งหมด จำนวน 4,840 คน |
|

 |
ชาย จำนวน 2,253 คน |
คิดเป็นร้อยละ 46.55 |
|

 |
หญิง จำนวน 2,587 คน |
คิดเป็นร้อยละ 53.45 |
|

 |
ความหนาแน่ประชากรเฉลี่ย 297 คน / ตร.กม. |
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางฮ่อ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
เขตองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่คำมี อำเภอหนองม่วงไข่ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
เขตเทศบาลตำบลร้องกวาง |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางร้อง |
|
|
|
|
|
     |
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
บ้านแม่ยางตาล |
142 |
173 |
315 |
124 |
|
 |
2 |
บ้านหนองเจริญ |
258 |
346 |
604 |
213 |
 |
|
3 |
บ้านแม่ยางกาด |
283 |
323 |
606 |
223 |
|
 |
4 |
บ้านแม่ยางโทน |
332 |
346 |
678 |
226 |
 |
|
5 |
บ้านทรายมูล |
339 |
388 |
727 |
233 |
|
 |
6 |
บ้านแม่ยางม่อน |
284 |
328 |
612 |
212 |
 |
|
7 |
บ้านแม่ยางกวาว |
175 |
190 |
365 |
108 |
|
 |
8 |
บ้านทรายทอง |
255 |
273 |
528 |
179 |
 |
|
9 |
บ้านหนองอ่วน |
185 |
220 |
405 |
130 |
|
 |
|
รวม |
2,253 |
2,587 |
4,840 |
1,648 |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
บริเวณพื้นที่ตำบลแม่ยางตาล จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 85 การประกอบอาชีพของประชาชนในตำบล ได้แก่ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่จะเป็นการปลูกข้าว ข้าวโพด ยาสูบ แตงโม พริก แตงกวาง
และพืชผักสวนครัว ปลูกไว้เพื่อจำหน่ายและบริโภค และการเลี้ยงสัตว์จำพวกโค สุกร ไก่ ฯลฯ
อาชีพรองได้แก่ ค้าขายและรับจ้างทั่วไป |
|
|
|
|
 |
|
|
ส่วนมากเป็นที่ราบ ซึ่งเป็นพื้นที่ราษฎร อาศัยอยู่ และเป็นพื้นที่ทำกินเป็นบางส่วน |
|
|
|
|